Economics

Economics – 3Q23 GDP ไม่ได้แย่ทั้งหมด

3Q23 GDP ขยายตัวในระดับที่น่าผิดหวังที่ 1.5% y-y และ 0.8% q-q อย่างไรก็ตาม สาเหตุหลักมาจากการปรับตัวลดลงอย่างมากของสินค้าคงเหลือ ขณะที่ปัจจัยขับเคลื่อนหลักไม่ได้แย่แต่อย่างใด การบริโภคที่ดีกว่าคาดมาก ขณะที่การท่องเที่ยว การลงทุน และการส่งออก เป็นไปตามคาด ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือกดดัน 3Q23 GDP ผลิตภัณฑ์ประชาชาติที่แท้จริง (Real GDP) ของไทยใน 3Q23 ขยายตัวต่ำกว่าคาดที่ 1.5% y-y และ 0.8% q-q อย่างไรก็ตาม รายการที่ผิดคาดอย่างมากมีอยู่เพียงรายการเดียว นั่นคือส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือซึ่งหดตัว 9.8 หมื่นลบ. เทียบกับเพิ่มขึ้น 8.2 หมื่นลบ. ใน 3Q22 ซึ่งหมายถึงผลกระทบต่อการเติบโต GDP ถึง 1.6% ขณะที่ตัวชี้วัดอื่นไม่ได้แย่ โดยการบริโภคภาคเอกชนดีกว่าคาด เร่งตัวขึ้นอีกเป็น 8.1% y-y ใน 3Q23 ขณะที่การส่งออกบริการ ซึ่งได้แก่รายได้จากการท่องเที่ยวขยายตัวตามคาดที่ 32% y-y […]

Economics

Economics – แนวโน้ม GDP ไม่เปลี่ยน

ตัวเลข 4Q22 GDP ของไทยออกมาต่ำกว่าคาด ขยายตัว 1.4% y-y และลดลง 1.5% q-q เนื่องจากการสะสมสินค้าคงคลังน้อยลง และการบริโภคของภาครัฐที่อ่อนแอ อย่างไรก็ตามปัจจัยที่สำคัญคือการบริโภคและการท่องเที่ยวยังดีมากอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการลงทุนที่ดีขึ้น เศรษฐกิจไทยจึงยังคงแนวโน้มการฟื้นตัวต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงสินค้าคงคลังกระทบ GDP ใน 4Q22   การขยายตัวของ GDP ของไทยใน 4Q22 นั้นอ่อนแอ โดยขยายตัว 1.4% y-y และหดตัว 1.5% q-q ซึ่งทำให้ทั้งปี 2022 ขยายตัวเพียง 2.6% เทียบกับคาดการณ์ของเราที่ 3.2% อย่างไรก็ตาม GDP ยังคงขยายตัวจากปี 2021 ที่ขยายตัว 1.6% รายการหลักที่กระทบ 4Q22 GDP คือการเพิ่มขึ้นของสินค้าคงคลังที่ต่ำกว่าคาด ซึ่งเฉือน GDP ออกไป 0.4% จากคาดการณ์ทั้งปีของเราที่ 3.2% อีกรายการคือการบริโภคของรัฐบาล ซึ่งลดลง […]

Economics

Economics – ฟื้นตัวเริ่มติดลม

ประเทศไทยกำลังฟื้นตัวเข้าสู่ระยะกลางของวัฏจักรการเติบโตในปี 2023F ซึ่งเราเห็นการเติบโตของ GDP แตะระดับ 4.0% ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเป็นบวก การบริโภคแข็งแกร่ง และสภาพคล่องส่วนเกินที่เหลืออยู่จำนวนมาก เรามองว่าแนวโน้มเหล่านี้จะดำเนินต่อเนื่องไปยังปี 2024F ด้วยคาดว่า GDP จะเติบโตที่ 4.0% เช่นเดิม GDP แตะระดับ 4% ในปี 2023-24F เราปรับองค์ประกอบสำคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโตของ GDP และคงมุมมองของเราที่มองว่าประเทศไทยกำลังฟื้นตัวเข้าสู่ระยะกลางของวัฏจักรการเติบโต โดยคาดว่าการขยายตัวของ GDP จะอยู่ที่ 4.0% ต่อปี ในปี 2023-24F หลังจากการฟื้นตัวในปีแรกที่ 3.2% ในปี 2022F โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนหลัก ได้แก่ การฟื้นตัวของการท่องเที่ยว (export of services) ค่าขนส่งที่ลดลง (import of services) ราคาพลังงานที่ผ่านจุดสูงสุดแล้ว (การนำเข้าที่ลดลงช่วยลดผลกระทบการส่งออกที่จะอ่อนแอจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก) และการบริโภคที่เพิ่มขึ้น (ผลคูณทวีจากการท่องเที่ยวและแรงหนุนจากการเลือกตั้ง) เราคาดว่าจุดที่อ่อนแอจะเป็นการส่งออกสินค้า และการลงทุนของภาครัฐ ดู Exhibit 1 สำหรับรายละเอียด […]

Economics

Economics – การส่งออกของไทยฟื้นตัวในเดือนสิงหาคม

การส่งออกรวมเติบโต 7.5% y-y ในเดือนส.ค. การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการขยายตัว 4.3% ในเดือนก.ค. สินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญฟื้นตัวในวงกว้าง การนำเข้าเพิ่มขึ้น 21%; ดุลการค้าขาดทุนมากขึ้นเป็น $4.2bn News Update การส่งออกของไทยฟื้นตัวในเดือนสิงหาคมจากระดับต่ำสุดในเดือนกรกฎาคม มูลค่าการส่งออกรวมอยู่ที่ US$23.63bn คงที่ q-q แต่เพิ่มขึ้น 7.5% y-y ซึ่งเป็นการดีดตัวขึ้นจากการเติบโต 4.3% ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดในรอบเกือบปีครึ่ง เดือนสิงหาคมจนถึงปัจจุบัน มูลค่าการส่งออกสูงถึง US$196.4bn เพิ่มขึ้น 11% y-y จากหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ 10 อันดับแรก มี 7 รายการแสดงแนวโน้มการเติบโตที่ดีขึ้น สามกลุ่มผลิตภัณฑ์ซึ่งมีอัตราการเติบโตที่อ่อนแอลง y-y คือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับน้ำมันทั้งหมด (ผลิตภัณฑ์น้ำมันกลั่น พลาสติก และเคมีภัณฑ์) การส่งออกที่สำคัญ เช่น รถยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวดีขึ้นอย่างมาก การส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นมากกว่า 22% y-y (เทียบกับ -3% ในเดือนกรกฎาคม) […]

Economics Market Strategy

Siam Senses –  การเติบโตเร่งตัวขึ้น    

เราคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีขึ้นใน 2H22F โดยได้แรงหนุนจากการบริโภคที่แข็งแกร่งและการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว เรายังคงชอบกลุ่มธนาคาร กลุ่มพลังงาน และกลุ่มที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ขณะที่เพิ่มกลุ่มที่เกี่ยวกับการบริโภคและนิคมอุตสาหกรรม การบริโภคแข็งแกร่งหนุนการปรับเพิ่ม GDP เราเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะเร่งตัวขึ้นใน 2H22F และปรับเพิ่มประมาณการการเติบโตของ GDP ในปีนี้เป็น 3.2% จาก 3.0% ซึ่งหมายความว่าการเติบโตของ GDP ใน 2H22F อยู่ที่ 4.0% เทียบกับตัวเลขใน 1H22 ที่ 2.4% การปรับขึ้นของเราส่วนใหญ่เกิดจากการบริโภคภายในประเทศที่แข็งแกร่ง อันเนื่องมาจากแรงการควบคุมแรงกดดันด้านเงินเฟ้อได้ดี อัตราการว่างงานที่ลดลง และความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ (น่าจะมีผลในวันที่ 1 ตุลาคม) สำหรับปีหน้า เราคงคาดการณ์การเติบโตของ GDP ไว้ที่ 4.0% เนื่องจากการเติบโตของการบริโภคที่แข็งแกร่งขึ้นชดเชยอัตราการเติบโตของการท่องเที่ยวที่ลดลง (ผลกระทบจากฐานที่สูง) การท่องเที่ยวยังคงเป็นปัจจัยหนุนหลัก การลงทุนฟื้นตัว การฟื้นตัวของการท่องเที่ยวยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย และมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นใน 2H22F นักท่องเที่ยวที่มายังไทยในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคมจนถึงปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 1.2-1.3 ล้านคนต่อเดือน ซึ่งเท่ากับเกือบ 40% ของระดับก่อนเกิดโรคระบาด ขณะที่การเติบโตอาจไม่เร่งตัวขึ้นในเดือนกันยายน/ตุลาคม (เนื่องจากช่วงนอกฤดูท่องเที่ยว) […]