Economics 9 May 2023, 18:15

Economics – แนวโน้ม GDP ไม่เปลี่ยน


ตัวเลข 4Q22 GDP ของไทยออกมาต่ำกว่าคาด ขยายตัว 1.4% y-y และลดลง 1.5% q-q เนื่องจากการสะสมสินค้าคงคลังน้อยลง และการบริโภคของภาครัฐที่อ่อนแอ อย่างไรก็ตามปัจจัยที่สำคัญคือการบริโภคและการท่องเที่ยวยังดีมากอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการลงทุนที่ดีขึ้น เศรษฐกิจไทยจึงยังคงแนวโน้มการฟื้นตัวต่อเนื่อง

การเปลี่ยนแปลงสินค้าคงคลังกระทบ GDP ใน 4Q22  

การขยายตัวของ GDP ของไทยใน 4Q22 นั้นอ่อนแอ โดยขยายตัว 1.4% y-y และหดตัว 1.5% q-q ซึ่งทำให้ทั้งปี 2022 ขยายตัวเพียง 2.6% เทียบกับคาดการณ์ของเราที่ 3.2% อย่างไรก็ตาม GDP ยังคงขยายตัวจากปี 2021 ที่ขยายตัว 1.6% รายการหลักที่กระทบ 4Q22 GDP คือการเพิ่มขึ้นของสินค้าคงคลังที่ต่ำกว่าคาด ซึ่งเฉือน GDP ออกไป 0.4% จากคาดการณ์ทั้งปีของเราที่ 3.2% อีกรายการคือการบริโภคของรัฐบาล ซึ่งลดลง 8% y-y ใน 4Q22 การส่งออกในรูปสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงอย่างมาก 7.5% y-y (เทียบกับคาดการณ์ของเราที่ +1.0%) ใน 4Q22 แต่ถูกชดเชยด้วยการนำเข้าที่อ่อนแอ ซึ่งลดลง 0.3% y-y (เทียบกับที่คาดไว้ที่ +16.0%) ดังนั้น การส่งออกสุทธิจึงไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้ GDP ออกมาต่ำกว่าที่คาดไว้

องค์ประกอบหลักที่ขับเคลื่อนการเติบโตยังคงแข็งแกร่ง

สำหรับด้านบวก องค์ประกอบสำคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโต GDP ใน 4Q22 คือการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งขยายตัว 5.7% y-y (เทียบกับที่เราคาดไว้ที่ 4.0%) ใน 4Q22 และการส่งออกบริการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการท่องเที่ยว เติบโต 107% y-y (เทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ 97%) การลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 4.5% y-y ใน 4Q22 (ค่อนข้างสอดคล้องกับที่คาดที่ 5.0%) การลงทุนภาครัฐขยายตัว 1.5% y-y ขณะที่เราคาดไว้ที่ 5.0% แต่รายการนี้มีขนาดค่อนข้างเล็กและมีผลกระทบต่อ GDP เล็กน้อย

เราคาด GDP จะขยายตัว 4.0% ต่อปี ในปี 2023-24F

แม้ว่าเรายังคงคาดการณ์การขยายตัวของ GDP ที่ 4.0% ต่อปี ในปี 2023-24F แต่ก็มาจากฐานที่ต่ำลงในปี 2022 (รายละเอียดการเปลี่ยนสมมติฐานของเราอยู่ใน Exhibit 11) ตัวขับเคลื่อนการเติบโตของ GDP ที่สำคัญในปี 2023-24F คือการบริโภค การท่องเที่ยว (ผ่านการส่งออกบริการ) และการลงทุนภาคเอกชน เราคาดว่าการส่งออกสินค้าจะอ่อนแอจากประเทศเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว แต่น่าจะได้รับการชดเชยด้วยการนำเข้าที่อ่อนแอลง ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ด้านพลังงานด้วย ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลตั้งแต่ 4Q22 และเราคาดว่าจะเกินดุล 1.3% ของ GDP ในปี 2023F เทียบกับขาดดุล 3.4% ในปี 2022 โปรดดูมุมมองในระยะยาวของเราเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยใน บทวิเคราะห์เศรฐกิจไทย – “ฟื้นตัวเริ่มติดลม” วันที่ 23 พฤศจิกายน 2022

แนวโน้มค่าเงินบาท และอัตราดอกเบี้ย

เรายังคงคาดว่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่า และปรับเพิ่มสมมติฐานมูลค่าขึ้นไปอีก หลังการพลิกกลับเร็วกว่าคาดใน 4Q22 แนวโน้มเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดที่เข้าสู่ช่วงใกล้ระดับสูงสุด การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในประเทศ และบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุล ปัจจุบันเราประเมินค่าเงินบาทที่ 33.1/32.1/31.3 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2023-25F เรายังคงคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายสิ้นปีจะอยู่ที่ 1.75/2.00% ในปี 2023-24F โดยสมมติว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวเต็มที่จากการท่องเที่ยวในปี 2024F

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน……

รายงานฉบับภาษาไทย Thai Version

รายงานฉบับภาษาอังกฤษ English Version