Economics 9 May 2023, 16:44

Economics – ฟื้นตัวเริ่มติดลม


ประเทศไทยกำลังฟื้นตัวเข้าสู่ระยะกลางของวัฏจักรการเติบโตในปี 2023F ซึ่งเราเห็นการเติบโตของ GDP แตะระดับ 4.0% ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเป็นบวก การบริโภคแข็งแกร่ง และสภาพคล่องส่วนเกินที่เหลืออยู่จำนวนมาก เรามองว่าแนวโน้มเหล่านี้จะดำเนินต่อเนื่องไปยังปี 2024F ด้วยคาดว่า GDP จะเติบโตที่ 4.0% เช่นเดิม

GDP แตะระดับ 4% ในปี 2023-24F

เราปรับองค์ประกอบสำคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโตของ GDP และคงมุมมองของเราที่มองว่าประเทศไทยกำลังฟื้นตัวเข้าสู่ระยะกลางของวัฏจักรการเติบโต โดยคาดว่าการขยายตัวของ GDP จะอยู่ที่ 4.0% ต่อปี ในปี 2023-24F หลังจากการฟื้นตัวในปีแรกที่ 3.2% ในปี 2022F โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนหลัก ได้แก่ การฟื้นตัวของการท่องเที่ยว (export of services) ค่าขนส่งที่ลดลง (import of services) ราคาพลังงานที่ผ่านจุดสูงสุดแล้ว (การนำเข้าที่ลดลงช่วยลดผลกระทบการส่งออกที่จะอ่อนแอจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก) และการบริโภคที่เพิ่มขึ้น (ผลคูณทวีจากการท่องเที่ยวและแรงหนุนจากการเลือกตั้ง) เราคาดว่าจุดที่อ่อนแอจะเป็นการส่งออกสินค้า และการลงทุนของภาครัฐ ดู Exhibit 1 สำหรับรายละเอียด

มั่นคง แต่มีข้อเสีย

เรายังคงมองว่าประเทศไทยเป็นประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (emerging market) ที่มีความมั่นคงทางการเงินสูงมาก (safe haven) และเมื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวฟื้นตัวมากขึ้นในปีหน้า การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจะกลับมาเป็นบวก  เงินบาทแข็งค่าขึ้น และเมื่อมีสภาพคล่องในระบบเพิ่ม การปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นก็ไม่น่าจะรุนแรง แนวโน้มเหล่านี้ดูเป็นบวกในภาพรวม แต่อย่างไรก็ตาม ฐานะการเงินที่แข่งแกร่งแบบนี้ก็เป็นผลมากจากการที่ประเทศไทยยังติดกับดักการเติบโตเชิงโครงสร้างที่ยังไม่สูง การลงทุนภาครัฐ และเอกชนที่อ่อนแอ เราจะยังไม่เห็นแนวโน้มของวัฏจักรการลงทุนใหม่ที่ยั่งยืนในระยะยาว  แต่ในระยะสั้นเราเห็นความหวังที่แนวโน้มการลงทุนภาคเอกชนจะดีขึ้นจากฐานเงินบาทที่อ่อนค่า ได้รับอานิสงส์จากการกระจายการลงทุนทางภูมิรัฐศาสตร์ และอุปสงค์ที่ค้างจากช่วงโควิด (pent-up demand)

การปรับอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มที่ไม่รุนแรง

ปัจจุบันเราคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปีจะอยู่ที่ 1.00/1.75/2.00% ในปี 2022-24F เทียบกับ 1.25% ในปี 2019 ถือเป็นการขึ้นที่ไม่มาก เนื่องจากความเสี่ยงของเงินทุนไหลออกต่ำ สภาพคล่องส่วนเกินในประเทศยังคงมีอยู่มาก และไม่มีสภาวะฟองสบู่ทางเศรษฐกิจ เราจึงเชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะพยายามปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้เข้าสู่ภาวะปกติตามแรงผลักดันทางเศรษฐกิจมากกว่าที่จะตามกระแสอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ธปท. ยังมองว่าอัตราเงินเฟ้อเป็นปัจจัยผลักดันต้นทุนมากกว่าอุปสงค์ และคาดว่าจะถึงจุดสูงสุดในปีนี้และอ่อนตัวลงในปีหน้า

ปัจจัยเสี่ยง

เรารวมผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกผ่านสมมติฐานการเติบโตของการส่งออกที่อ่อนแอของเราที่ ที่ -1.5/1.1% (ก่อนหน้าที่ 4.0/3.0%) ในปี 2023-24F และการหดตัวจากประเทศเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว (40% ของการส่งออก) ถูกชดเชยในระดับหนึ่งด้วยการเติบโตของตลาดเกิดใหม่ (60%) ปัจจัยรองรับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอีกประการ คือ ราคาพลังงานที่กำลังอ่อนตัวลงและส่งผลต่อมูลค่าการนำเข้าของไทย สมมติฐานราคาน้ำมันเบรนต์ของเราที่ US$101/85/80 ในปี 2022-24F ยังคงเป็นระดับที่สูง แต่ลดลงจากระดับสูงสุดจากปีนี้ ความเสี่ยงต่อคาดการณ์ GDP ของเราอีกประการ คือ หากจีนไม่ผ่อนคลายมาตรการโควิดจนถึงสิ้นปี 2023 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคาดการณ์การเติบโตของการท่องเที่ยวในช่วงไฮซีซั่นใน 4Q23F ของเรา

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน……

รายงานฉบับภาษาไทย Thai Version

รายงานฉบับภาษาอังกฤษ English Version